ภภน 464 เภสัชกรรมปฏิบัติทางคลินิก_ปีการศึกษา 2567
การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ร้านยาและการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย รวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วย เวชระเบียนผู้ป่วย
แปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลตรวจร่างกายและการวินิจฉัยโรคของแพทย์โดยระบุ
แก้ไข/บรรเทา และป้องกันปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยาในผู้ป่วยแต่ละราย
โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางวิทยาศาสตร์และแนวทางกรรักษาโรคทางอายุรกรรมในประเทศไทย
วิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนทางยา มีแนวคิดเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยด้านยา (medication safety system) การทบทวนและประเมินการใช้ยา
และการใช้ยาสมเหตุผล มีทักษะการสืบค้นข้อมูล
การประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
ภภน 556 การตรวจติดตามระดับยาเพื่อการรักษา ปีการศึกษา 2567
ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2567
ยาที่มีช่วงการรักษาแคบ รวมทั้งยา aminoglycosides, digoxin, theophylline, vancomycin และยากดภูมิคุ้มกัน โดยศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ของยาเหล่านี้ ในผู้ป่วยที่มีสภาวะทางพยาธิสรีรวิทยาต่างๆ กัน และการปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย สำหรับผลการรักษาและความปลอดภัยสูงสุด ใช้กรณีศึกษาสำหรับส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการและการประยุกต์ในงานบริบาลทางเภสัชกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภภน 459 เภสัชจลนศาสตร์คลินิก ปีการศึกษา 2567
ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2567
หลักการใช้ยาให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด โดยประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับสมบัติทางฟิสิกส์เคมีของยา รูปแบบของยาเตรียมต่างๆ และวิธีการให้ยา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึม การกระจาย การเปลี่ยแปลงสภาพและการขจัดยา การคำนวณค่าชี้วัดทางจลนศาสตร์ของยา แล้วนำมาพิจารณาร่วมกับพยาธิภาวะของคนไข้สำหรับคำนวณปรับขนาด รูปแบบหรือวิธีให้ยาที่เหมาะสม หารทดสอบชีวสมมูลย์ และชีววัตถุคล้ายคลึง กรณีศึกษาจากบทคามผลการศึกษาทางเภสัชจลนศาสตร์และทางคลินิกที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการศึกษาทางชีววัตถุ
ภภน 457 เภสัชบำบัด 1 ปีการศึกษา 2567
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
รายวิชานี้เป็นการศึกษาการใช้ยาและแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับภาวะโรคเรื้อรังทางอายุรกรรมต่างๆ เช่น โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคทางระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อในระบบหายใจและทางเดินปัสสาวะ โดยการค้นหา แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยา และการให้คำปรึกษาด้านยา ซึ่งศึกษาจากกรณีศึกษา และเน้นการบูรณาการความรู้ทางเภสัชวิทยา เคมีของยา และผลิตภัณฑ์ยา สำหรับเลือกยาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยคำนึงถึงการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างสมเหตุผล
ภภน 660 การฝึกปฏิบัติงานการบริบาลทางเภสัชกรรมปฐมภูมิ
การฝึกปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมเพื่อให้เกิดความชำนาญในการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชนและประชาชนทั่วไป ค้นหาปัญหาทางด้านการใช้ยา และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการใช้ยาในผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน การทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ
ภภน 553 เภสัชบำบัด 3_ปีการศึกษา 2567
การใช้ยาและแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับภาวะโรคต่างๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โรคทางจิตเวชและประสาทวิทยา โรคในผู้ป่วยเด็ก และสตรีมีครรภ์โดยพิจารณาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ การค้นหา แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยา และการให้คำปรึกษาด้านยา โดยศึกษาจากกรณีศึกษา และเน้นการบูรณาการความรู้ทางเภสัชวิทยา เคมีของยา และผลิตภัณฑ์ยา โดยนำมาใช้ในการเลือกยาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย และคำนึงถึงการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
PCP 557 Healthcare Institutional Quality Assurance
ภภน 557 - PCP 557 Healthcare Institutional Quality Assurance ปีการศึกษา 2567 ภาคการศึกษาต้น
ภภน657_2567 การฝึกปฏิบัติงาน: การบริบาลทาเภสัชกรรมในผู้ป่วยไปกลับ 3
การให้คำปรึกษาด้านการใช้ยาใน CKD clinic หรือ HIV clinic และการประเมินวรรณกรรมทางคลินิก นำมารใช้ในการแก้ไขปัญหาการใช้ยาในทางอายุรกรรมแก่ผู้ปวยแต่ละราย การทำงานร่วมกบบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ หรือแก้ไขปัญหาเชิงระบบยาในห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก
ภภน662_2567 การฝึกปฏิบัติงาน: การตรวจติดตามระดับยาเพื่อการรักษา
การฝึกปฏิบัติงานทางเภสัชกรรมด้านการดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาที่มีช่วงการรักษาแคบ เน้นการประยุกต์เหตุผลทางเภสัชจลนศาสตร์ในผู้ป่วยที่มีสภาวะทางพยาธิสรีรวิทยาต่างๆ กัน การปรับแผนกำหนดการใช้ยาให้ได้ผลการรักษาและความปลอดภัยสูงสุด การทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ
ภภน663_2567 การฝึกปฏิบัติงานการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ และ/หรือ เภสัชสนเทศ
การฝึกปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วย เน้นทักษะการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ของการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมท้ังอาจมีการให้บริการเภสัชสนเทศที่ถูกต้อง ประยุกต์ตวามรู้ทางเภสัชวิทยา เภสัชกรรม เภสัชบำบัด พิษวิทยาและอื่นๆ โดยด้านการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ มีการสัมภาษณ์ผู้ป่วย วิเคราะห์สาเหตุการเกิดโดยใช้แบบประเมินอาการไม่พึงประสงค์ Naranjo algorithm เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา และรายงานอาการไม่พึงประสงค์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านเภสัชสนเทศ มีการวิเคราะห์คำถาม สืบค้นและประเมินเอกสารที่เกี่ยวข้อง สังเคราะห์และสรุปเป็นคำตอบและถกแถลงข้อมูลทางวิชาการ แีกทั้งเผยแพร่ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ฝึกเขียนจดหมายข่าว รวมทั้งนำเสนอทางวิชาการ
ภภน 463 ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติ
ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติในแง่ความหมายของการวิจัย
ประเภทการวิจัย ขั้นตอน ของการวิจัย
การทบทวนวรรณกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยเชิงพรรณนาแบบการ สำรวจและการออกแบบสอบถาม
การวิจัยเชิงความสัมพันธ์และเชิงทดลอง การคำนวณขนาด ตัวอย่างของงานวิจัย การเขียนโครงร่างงานวิจัยและการนำเสนอ
สถิติเชิงพรรณนาและอนุมาน เพื่อทดสอบสมมุติฐานทางสถิติและการประมาณค่าในประชากร
รวมทั้งโปรแกรมที่ใช้ในการ วิเคราะห์ทางสถิติ
การเขียนรายงานการวิจัยโดยใช้บทความที่เกี่ยวข้องและการฝึกปฏิบัติจริง
ภภน 553 การบริบาลทางเภสัชกรรมโดยการตรวจติดตามระดับยา_2566/2
การศึกษาเภสัชบำบัดสำหรับยาที่มีช่วงการรักษาแคบ
(digoxin, theophylline และ aminoglycosides) เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการบริบาลทางเภสัชกรรม
โดยศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ของยาเหล่านี้ในผู้ป่วยที่มีสภาวะทางพยาธิสรีรวิทยาต่าง ๆ
กัน โดยการปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
เพื่อให้ได้ผลรักษาและความปลอดภัยสูงสุด ใช้กรณีศึกษาและการประเมินวรรณกรรมทางคลินิก
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานบริบาลทางเภสัชกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภภน 456_2566 ปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2
ปฏิบัติการจากสถานการณ์จำลองเกี่ยวกับการเลือก การจัดเตรียม ตรวจสอบความถูกต้อง ส่งมอบ การให้คำปรึกษาและติดตามผลการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำหรับโรคที่พบบ่อยในร้านยาและสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ รวมถึงในผู้ป่วยที่รับบริการติดตามดูแลรักษาที่บ้าน (Home pharmaceutical care) ซึ่งครอบคลุมเนื้อหา การนำความรู้ด้านชีวเภสัชศาสตร์และเทคโนโลยีเภสัชกรรมของผลิตภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพมาบูรณาการเพื่อเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วย และอภิปรายกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณและกฎหมายวิชาชีพ
ภภน 458_2566 เภสัชบำบัด 2
การใช้ยาและแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับภาวะโรคเกี่ยวกับตับ โรคผิวหนัง โรคทางระบบประสาทเบื้องต้น โรคทางระบบเลือด โรคไตเรื้อรัง และการใช้ยาทางจิตเวชเบื้องต้น โดยการค้นหา แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยา และการให้คำปรึกษาด้านยา ซึ่งศึกษาจากกรณีศึกษา และเน้นการบูรณาการความรู้ทางเภสัชวิทยา เคมีของยา และผลิตภัณฑ์ยา สำหรับเลือกยาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยคำนึงถึงการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างสมเหตุผล
ภภน 551 การฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมปฏิบัติ 7 ปีการศึกษา 2566
การปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับทีมบุคคลากรสาธารณสุข
ณ สถานพยาบาลที่เป็นแหล่งฝึก
ครอบคลุมกิจกรรมที่เป็นองค์ประกอบของงานบริบาลทางเภสัชกรรมด้านหลักคือ
การดูแลผู้ป่วยไปกลับและผู้ป่วยใน รวมทั้งกิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วย
และการดูแลผู้ป่วยในร้านยา ภายใต้การควบคุมดูแลของเภสัชกรแหล่งฝึกหรือคณาจารย์
โดยฝึกปฏิบัติ การปฏิบัติที่ดีด้านการจ่ายยาและการส่งมอบยาให้แก่ผู้ป่วย
การให้คำปรึกษาแนะนำด้านยาแก่ผู้ป่วยเฉพาะราย
ติดตามผลการรักษาด้วยยาในด้านประสิทธิผลและความปลอดภัย
เสนอแนะการแก้ไขและป้องกันปัญหาด้านยาแก่ผู้ป่วยและผู้ให้การรักษา
การนำเสนอกรณีศึกษาผู้ป่วย การประเมินวรรณกรรมทางคลินิก
และการตอบคำถามด้านยาแก่บุคลากรทางการแพทย์
ภภน 351 การฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมปฏิบัติ 3 ปี 2566
บูรณาการความรู้ทางเภสัชวิทยา เทคโนโลยีเภสัชกรรม เภสัชเคมี เภสัชจลนศาสตร์ สมุนไพร จรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมายยามาประยุกต์ในผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป อภิปรายกรณีศึกษายาระบบทางเดินอาหาร ยาจิตเวช ยาระบบประสาท ยาบรรเทาอาการปวด และยารูปแบบแผ่นแปะ อธิบายกิจกรรมในกระบวนการทำงานในเภสัชกรรมปฏิบัติ มีทัศนคติที่ดีต่อการมีปฏิสัมพันธ์และความรับผิดชอบของเภสัชกรต่อบุคคลอื่น ผู้ป่วย ญาติ บุคลากรทางการแพทย์อื่น
ภภน 457 เภสัชบำบัด 1 ปีการศึกษา 2566
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
รายวิชานี้เป็นการศึกษาการใช้ยาและแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับภาวะโรคเรื้อรังทางอายุรกรรมต่างๆ เช่น โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคทางระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อในระบบหายใจและทางเดินปัสสาวะ โดยการค้นหา แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยา และการให้คำปรึกษาด้านยา ซึ่งศึกษาจากกรณีศึกษา และเน้นการบูรณาการความรู้ทางเภสัชวิทยา เคมีของยา และผลิตภัณฑ์ยา สำหรับเลือกยาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยคำนึงถึงการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างสมเหตุผล
ภภน 556 การตรวจติดตามระดับยาเพื่อการรักษา_2566
ยาที่มีช่วงการรักษาแคบ รวมทั้งยา aminoglycosides, digoxin, theophylline, vancomycin และยากดภูมิคุ้มกัน โดยศึกษาเภสัช
จลนศาสตร์ของยาเหล่านี้ในผู้ป่วยที่มีสภาวะทางพยาธิสรีรวิทยาต่างๆ กัน และการปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ส าหรับ
ผลรักษาและความปลอดภัยสูงสุด ใช้กรณีศึกษาส าหรับส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการและประยุกต์ในงานบริบาลทางเภสัชกรรมได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
ภภน 459 เภสัชจลนศาสตร์คลินิก_ภภน 449_2566
หลักการใช้ยาให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด โดยประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับสมบัติทางฟิสิกส์เคมีของยา
รูปแบบของยาเตรียมต่างๆ และวิธีการให้ยา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึม การกระจาย การเปลี่ยนแปลงสภาพและการขจัดยา การ
ค านวณค่าชี้วัดทางจลนศาสตร์ของยา แล้วน ามาพิจารณาร่วมกับพยาธิภาวะของคนไข้ส าหรับค านวณปรับขนาด รูปแบบหรือวิธีให้ยา
ที่เหมาะสม การทดสอบชีวสมมูลย์ และชีววัตถุคล้ายคลึง กรณีศึกษาจากบทความผลการศึกษาทางเภสัชจลนศาสตร์และทางคลินิกที่
เกี่ยวข้อง รวมถึงการศึกษาทางชีววัตถุ