ภภน 556 การตรวจติดตามระดับยาเพื่อการรักษา_2566
ยาที่มีช่วงการรักษาแคบ รวมทั้งยา aminoglycosides, digoxin, theophylline, vancomycin และยากดภูมิคุ้มกัน โดยศึกษาเภสัช
จลนศาสตร์ของยาเหล่านี้ในผู้ป่วยที่มีสภาวะทางพยาธิสรีรวิทยาต่างๆ กัน และการปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ส าหรับ
ผลรักษาและความปลอดภัยสูงสุด ใช้กรณีศึกษาส าหรับส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการและประยุกต์ในงานบริบาลทางเภสัชกรรมได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
ภภน 459 เภสัชจลนศาสตร์คลินิก_ภภน 449_2566
หลักการใช้ยาให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด โดยประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับสมบัติทางฟิสิกส์เคมีของยา
รูปแบบของยาเตรียมต่างๆ และวิธีการให้ยา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึม การกระจาย การเปลี่ยนแปลงสภาพและการขจัดยา การ
ค านวณค่าชี้วัดทางจลนศาสตร์ของยา แล้วน ามาพิจารณาร่วมกับพยาธิภาวะของคนไข้ส าหรับค านวณปรับขนาด รูปแบบหรือวิธีให้ยา
ที่เหมาะสม การทดสอบชีวสมมูลย์ และชีววัตถุคล้ายคลึง กรณีศึกษาจากบทความผลการศึกษาทางเภสัชจลนศาสตร์และทางคลินิกที่
เกี่ยวข้อง รวมถึงการศึกษาทางชีววัตถุ
ภภน 553 เภสัชบำบัด 3_ปีการศึกษา 2566
การใช้ยาและแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับภาวะโรคต่างๆ
ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โรคทางจิตเวชและประสาทวิทยา โรคในผู้ป่วยเด็ก
และสตรีมีครรภ์โดยพิจารณาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ การค้นหา แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยา
และการให้คำปรึกษาด้านยา โดยศึกษาจากกรณีศึกษา
และเน้นการบูรณาการความรู้ทางเภสัชวิทยา เคมีของยา และผลิตภัณฑ์ยา โดยนำมาใช้ในการเลือกยาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
และคำนึงถึงการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ภภน 560 โครงงานวิจัยทางเภสัชกรรมปฏิบัติ ปี 2566
โครงงานวิจัยทางเภสัชกรรมปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย การใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ โรคและ สุขภาพ การบริการทางเภสัชกรรมและการดูแลผู้ป่วย การศึกษาเภสัชศาสตร์ รวมทั้งกฎระเบียบและแนวทาง ปฏิบัติที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล ร้านยา สถานพยาบาลอื่นๆ หรือสถาบันการศึกษา มีการประยุกต์ใช้ความรู้จาก วิชาระเบียบวิธีวิจัยและสถิติ การทบทวนวรรณกรรม การเสนอโครงร่างงานวิจัยเพื่อพิจารณาอนุมัติ การดำเนินงานวิจัย การเขียนรายงานการวิจัยและการสอบป้องกันโครงงานวิจัย
ภภน649_การฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมคลินิก 13 ปีการศึกษา 2/2566
เลือกหนึ่งสาขาจากงานบริบาลทางเภสัชกรรมเฉพาะทางดังต่อไปนี้ โดยการฝึกปฏิบัติงานจะต้องปฏิบัติตามคู่มือของการฝึกงานตามสาขาที่นิสิตเลือกฝึกปฏิบัติงาน
1. การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยเด็ก (Pediatric Pharmaceutical Care)
2. การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยมะเร็ง (Oncology Pharmaceutical Care)
3. การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไต (Nephrology Pharmaceutical Care)
4. การบริบาลทางเภสัชกรรมโดยการตรวจติดตามระดับยาในเลือด (Therapeutic Drug Monitoring in Pharmaceutical care)
5. เภสัชสนเทศในการบริบาลทางเภสัชกรรม (Drug Information in Pharmaceutical Care)/ De Montfort University
6. โภชนคลินิก (Clinical Nutrition)
7. การบริบาลทางเภสัชกรรมปฐมภูมิ (Home Heath Care)
8. การประเมินปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากยา (Adverse Drug Reaction)
ภภน 646_2566_การฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมคลินิก 10: การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยเฉียบพลัน
การฝึกปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความเข้าใจในบทบาทหน้าที่
และความสำคัญของการให้บริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยใน
และสามารถบรูณาการองค์ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับงานบริบาลทางเภสัชกรรมมาใช้ในการดูแลการใช้ยาในผู้ป่วยอายุรกรรม
ที่เข้าพักรักษาตัว ในโรงพยาบาลได้ โดยเน้น การใช้หลักการและเหตุผล
เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการใช้ยา ในทางอายุรกรรม รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับ
บุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ เพื่อสนับสนุนการบริการสุขภาพแบบองค์รวมได้
ภภน 648 การฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมคลินิก 12 _ปีการศึกษา 2566
การฝึกปฏิบัติงานที่เน้นทักษะเฉพาะในการเตรียมยาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย ทั้งยาเตรียมเฉพาะรายทั่วไป (extemporaneous preparations) ยาเคมีบำบัด (chemotherapy) ยาเตรียมปราศจากเชื้อ (intravenous admixture) และ สารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำ (total parenteral nutrition) โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ
ภภน 456 ปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2 ปีการศึกษา 2/2565
รายวิชานี้เป็นปฏิบัติการจากสถานการณ์จําลองเกี่ยวกับการเลือก การจัดเตรียม ตรวจสอบความถูกต้อง ส่งมอบ การให้คําปรึกษาและติดตามผลการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ สําหรับโรคที่พบบ่อยในร้านยาและสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ รวมถึงในผู้ป่วยที่รับบริการติดตามดูแลรักษาที่บ้าน (Home pharmaceutical care) ซึ่งครอบคลุมเนื้อหา การนําความรู้ด้านชีวเภสัชศาสตร์และเทคโนโลยีเภสัชกรรมของผลิตภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพมาบูรณาการเพื่อเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วย และอภิปรายกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณและกฎหมายวิชาชีพ
PCP 463 Research methodology and statistics_2565
ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติในแง่ความหมายของการวิจัย ประเภทการวิจัย ขั้นตอน ของการวิจัย การทบทวนวรรณกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยเชิงพรรณนาแบบการ สำรวจและการออกแบบสอบถาม การวิจัยเชิงความสัมพันธ์และเชิงทดลอง การคำนวณขนาด ตัวอย่างของงานวิจัย การเขียนโครงร่างงานวิจัยและการนำเสนอ สถิติเชิงพรรณนาและอนุมาน เพื่อทดสอบสมมุติฐานทางสถิติและการประมาณค่าในประชากร รวมทั้งโปรแกรมที่ใช้ในการ วิเคราะห์ทางสถิติ การเขียนรายงานการวิจัยโดยใช้บทความที่เกี่ยวข้องและการฝึกปฏิบัติจริง
ภภน553_2565 Therapeutic Drug Monitoring
การศึกษาเภสัชบ าบัดส าหรับยาที่มีช่วงการรักษาแคบ (digoxin, theophylline และ aminoglycosides) เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ใน
การบริบาลทางเภสัชกรรม โดยศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ของยาเหล่านี้ในผู้ป่วยที่มีสภาวะทางพยาธิสรีรวิทยาต่าง ๆ กัน โดยการปรับ
ขนาดยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้ได้ผลรักษาและความปลอดภัยสูงสุด ใช้กรณีศึกษาและการประเมินวรรณกรรมทาง
คลินิก เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อน าไปประยุกต์ใช้ในงานบริบาลทางเภสัชกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภภน 458_2565 เภสัชบำบัด 2
การใช้ยาและแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับภาวะโรคเกี่ยวกับตับ
โรคผิวหนัง โรคทางระบบประสาทเบื้องต้น โรคทางระบบเลือด โรคไตเรื้อรัง
และการใช้ยาทางจิตเวชเบื้องต้น โดยการค้นหา แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยา
และการให้คำปรึกษาด้านยา ซึ่งศึกษาจากกรณีศึกษา
และเน้นการบูรณาการความรู้ทางเภสัชวิทยา เคมีของยา และผลิตภัณฑ์ยา สำหรับเลือกยาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
โดยคำนึงถึงการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างสมเหตุผล
ภภน 462_2565 การประเมินความปลอดภัยจากการใช้ยา
การประยุกต์ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับเภสัชวิทยาและพิษวิทยาทางคลินิกนำมาใช้ในการประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
(Adverse Drug Reaction; ADR) และ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เกิดขึ้นในทางคลินิก
โดยศึกษาจากกรณีศึกษาเกี่ยวกับการเกิด ADR ต่อระบบต่างๆ
ของร่างกาย และการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยารวมทั้งผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทำให้มีการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย
รวมทั้งบทบาทของเภสัชกรในการติดตาม ประเมินชนิดและความรุนแรงของ ADR และการจัดการปัญหา ADR การศึกษาระบบติดตามและรายงาน ADR
ในหน่วยงาน และมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด ADR ซ้ำในผู้ป่วย
ภภน 556_2565 เภสัชบำบัด 4
การศึกษาการใช้ยาที่เหมาะสมกับภาวะโรคต่างๆ โดยคำนึงถึงผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เนื้อหาวิชาครอบคลุมเภสัชบำบัดผู้ป่วยโรคที่ซับซ้อนมากขึ้น โรคติดเชื้อและการใช้ยาในโรคมะเร็งชนิดต่างๆ โดยใช้ความรู้ทางพยาธิสรีรวิทยา และเภสัชวิทยามาวิเคราะห์และศึกษาผลการตอบสนองต่อยาในผู้ป่วย โดยการค้นหาปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยา และหาแนวทางป้องกันและแก้ไขโดยใช้กรณีศึกษา เน้นการใช้เหตุผลทางเภสัชวิทยาและเคมีของยาเพื่อจำแนกความต่างระหว่างยาที่ใช้รักษาโรคใดๆ และสามารถเลือกยาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสภาพผู้ป่วยแต่ละราย จัดให้มีกิจกรรมการประเมินการบำบัดด้วยยาแบบ evidence based และการประเมินวรรณกรรมทางคลินิกในช่วงท้ายโดยใช้กรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานบริบาลทางเภส้ชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภภน 558 การฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมคลินิก 7 ปีการศึกษา 2565
เมื่อนิสิตฝึกประสบการณ์ภาคสนามนี้แล้ว นิสิตสามารถมีทักษะเบื้องต้นในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยเฉียบพลันหรือผู้ป่วยไปกลับ รวมถึงการออกเยี่ยมบ้านของผู้ป่วยแต่ละราย โดยมีการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ได้แก่ การสัมภาษณ์ ค้นหาและประเมินปัญหาด้านการยาของผู้ป่วยเบื้องต้น รวมถึงให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาและการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
ภภน 459 เภสัชจลนศาสตร์คลินิก_2565
หลักการใช้ยาให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด
โดยประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับสมบัติทางฟิสิกส์เคมีของยา รูปแบบของยาเตรียมต่างๆ
และวิธีการให้ยา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึม การกระจาย การเปลี่ยนแปลงสภาพและการขจัดยา
การคำนวณค่าชี้วัดทางจลนศาสตร์ของยา
แล้วนำมาพิจารณาร่วมกับพยาธิภาวะของคนไข้สำหรับคำนวณปรับขนาด
รูปแบบหรือวิธีให้ยาที่เหมาะสม การทดสอบชีวสมมูลย์ และชีววัตถุคล้ายคลึง
กรณีศึกษาจากบทความผลการศึกษาทางเภสัชจลนศาสตร์และทางคลินิกที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงการศึกษาทางชีววัตถุ
ภภน 351 การฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมปฏิบัติ 3 ปี 2565
บูรณาการความรู้ทางเภสัชวิทยา
เทคโนโลยีเภสัชกรรม เภสัชเคมี เภสัชจลนศาสตร์ สมุนไพร จรรยาบรรณวิชาชีพ
และกฎหมายยามาประยุกต์ในผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป
อภิปรายกรณีศึกษายาระบบทางเดินอาหาร ยาจิตเวช ยาระบบประสาท ยาบรรเทาอาการปวด
และยารูปแบบแผ่นแปะ อธิบายกิจกรรมในกระบวนการทำงานในเภสัชกรรมปฏิบัติ มีทัศนคติที่ดีต่อการมีปฏิสัมพันธ์และความรับผิดชอบของเภสัชกรต่อบุคคลอื่น
ผู้ป่วย ญาติ บุคลากรทางการแพทย์อื่น
ภภน 544_ปี 2565 เภสัชบำบัด 3
การศึกษาการใช้ยาที่เหมาะสมกับภาวะโรคต่างๆ โดยคำนึงถึงผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เนื้อหาวิชาครอบคลุมเภสัชบำบัดผู้ป่วยโรคที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น โรคทางจิตเวชและประสาทวิทยา โดยใช้ความรู้ทางพยาธิสรีรวิทยา และเภสัชวิทยามาวิเคราะห์และศึกษาผลการตอบสนองต่อยาในผู้ป่วย ค้นหาปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยา และหาแนวทางป้องกันและแก้ไขโดยใช้กรณีศึกษา เน้นการใช้เหตุผลทางเภสัชวิทยาและเคมีของยาเพื่อจำแนกความต่างระหว่างยาที่ใช้รักษาโรคใดๆ และสามารถเลือกยาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสภาพผู้ป่วยแต่ละราย จัดให้มีกิจกรรมการประเมินการบำบัดด้วยยาแบบ evidence based และการประเมินวรรณกรรมทางคลินิกในช่วงท้ายโดยใช้กรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานบริบาลทางเภส้ชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภภน647 การฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมคลินิก 11: การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยไปกลับ (ปีการศึกษา 2565)
การฝึกปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมเพื่อให้เกิดความสามารถเฉพาะในการดูแลการใช้ยาแก่ผู้ป่วยนอก การให้คำปรึกษาด้านการใช้ยาในผู้ป่วยเรื้อรัง การใช้ยาที่มีช่วงการรักษาแคบ การใช้ยาที่มีเทคนิคพิเศษ เน้นการประยุกต์หลักการ เหตุผลทางเภสัชบำบัด และการประเมินวรรณกรรมทางคลินิก ในการแก้ไขปัญหาการใช้ยาในทางอายุรกรรม ฝึกการทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ โดยเน้นการดูแลการใช้ยา เพื่อสนับสนุนการบริการสุขภาพแบบองค์รวม
ภภน 242 การฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมคลินิก 2
สร้างความคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่หลากหลายขึ้น
ซึ่ง เป็นพื้นฐานของเภสัชศาสตร์และวิชาชีพเภสัชกรรมทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ
โดยใช้กระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ มีทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การค้นคว้าแหล่งข้อมูลทางเภสัชศาสตร์ที่หลากหลายขึ้น สร้างความคุ้นเคยกับกิจกรรมในกระบวนการทำงานในเภสัชกรรมปฏิบัติที่เน้นความรู้ทางผลิตภัณฑ์
และการจัดการเภสัชภัณฑ์อย่างกว้างขวางขึ้นและลึกขึ้น
สร้างทัศนคติที่เหมาะสมต่อการปฏิสัมพันธ์และความรับผิดชอบของเภสัชกรต่อบุคคลอื่น
ผู้ป่วย ญาติ บุคลากรทางการแพทย์อื่น