
พพ202 อิมมูโนวิทยา ปีการศึกษา 2568
ศึกษาทฤษฎีและฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับหน้าที่การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เซลล์และโมเลกุลที่ร่างกายใช้ในการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี การทำงานของระบบคอมพลีเมนต์ เภสัชวิทยาภูมิคุ้มกัน รวมถึงพยาธิวิทยาของโรคหรือความผิดปกติที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน

PR321 Gastrointestinal system 1/2568
ศึกษาทฤษฏีและฝึกปฏิบัติการโครงสร้างและหน้าที่การทางาน การเจริญพัฒนาของระบบทางเดินอาหาร เมตาบอลิซึม ของสารอาหารและพลังงาน การประยุกต์ความรู้เพื่ออธิบายพยาธิวิทยาของโรค หรือภาวะผิดปกติที่สาคัญและพบบ่อยในระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งเภสัชวิทยาของยาที่ใช้ในระบบทางเดินอาหาร

รายวิชาพพ222/2568 (พันธุศาสตร์มนุษย์และการเจริญเติบโต) ปีการศึกษา 2568
ศึกษาทฤษฎีและฝึกปฏิบัติการ ยีน โครโมโซม การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์ พันธุศาสตร์ของประชากร ตลอดจนการเจริญพัฒนาขั้นต้นของตัวอ่อน ชนิดของเนื้อเยื่อ การเกิดภาวะผิดปกติแต่กำเนิดที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยธรรมและกฎหมายการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Master class series: common conditions unlocked for extern
Master class series: common conditions unlocked for extern
รายวิชานี้เป็น non-credit จัดสอนทุกวันพุธของสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน เริ่มสอนตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2568 -25 กุมภาพันธ์ 2568
คุณสมบัติของผู้เรียน: นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 (extern) ปีการศึกษา 2568 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ หลังจากนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 จบการเรียนในคอร์สนี้แล้ว สามารถ
1.วินิจฉัยผู้ป่วยในปัญหาที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติผู้ป่วยนอกได้ตามเกณฑ์แพทยสภาฯ
2.ให้การดูแลผู้ป่วยในปัญหาที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติผู้ป่วยนอกได้ตามเกณฑ์แพทยสภาฯ
![พพ221 ชีววิทยาของเซลล์มนุษย์ [1/2568]](https://moodle.swu.ac.th/pluginfile.php/622840/course/overviewfiles/%E0%B8%9B%E0%B8%812%20%E0%B8%9E%E0%B8%9E221_68.jpg)
พพ221 ชีววิทยาของเซลล์มนุษย์ [1/2568]
ศึกษาทฤษฎีและฝึกปฏิบัติการ โครงสร้างและการทำงานของเซลล์ วงจรการแบ่งเซลล์ โครงสร้าง คุณสมบัติ และหน้าที่ของสารชีวโมเลกุล เอนไซม์ และสารชนิดต่างๆ การขนส่งสารผ่านเยื่อเซลล์ การติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ และการรักษาสมดุลของเซลล์

ศศ 611 ศัลยศาสตร์ปฏิบัติการทางคลินิก 3 (Clerkship in Surgery III)
นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 เรียกว่า “นิสิตแพทย์เวชปฏิบัติ” หมายถึง การเรียนปีสุดท้ายสำหรับชีวิตการเป็นนิสิตแพทย์ ก่อนที่จะเป็น “แพทย์” เต็มตัว จุดมุ่งหมายของปีนี้ ก็คือการฝึกปฏิบัติงาน, การตรวจ, การวินิจฉัยและรักษา โดยใช้ความรู้ที่ เรียนมาทั้งหมดต้องถูกนำมาใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์พี่เลี้ยงอาจารย์แพทย์
ปัจจุบัน สังคมและประชาชนได้คาดหวังกับการเป็นแพทย์ไว้ค่อนข้างสูง ดังนั้น ความรับผิดชอบและความรู้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่อาชีพแพทย์จะต้องพึงระลึกไว้เสมอภาควิชาศัลยศาสตร์หวังว่า เมื่อผ่านการปฏิบัติงานจากภาควิชาไปแล้ว สิ่งที่ “นิสิตแพทย์เวชปฏิบัติ”ควรจะได้ก็คือความรู้และหัตถการพื้นฐานและทางด้านศัลยศาสตร์อีกทั้งการดูแลเบื้องต้น สำหรับผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรม เช่น อุบัติเหตุได้เป็นอย่างดี
ภาควิชาศัลยศาสตร์หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อนิสิตแพทย์ผ่านการปฏิบัติงานที่ภาควิชาศัลยศาสตร์แล้วจะได้สิ่งต่าง ๆ ตามที่คาดหวังไว้

เวชศาสตร์ฉุกเฉิน วศฉ601 (31มี.ค.-4เม.ษ.2568) Emergency Medicine EMS601
Study theories on incidence, prevalence, pathogenesis, signs and symptoms, examination, diagnosis and treatment of diseases/symptoms/emergencies commonly found in the emergency room in surgery, obstetrics and gynecology, pediatrics, internal medicine, orthopedics.
Course Director: Flying Officer Pichai Supparojpattana
Any question related to contents and topics, please feel free to contact me via E-mail: pichai@g.swu.ac.th

ระบบประสาทส่วนกลาง พพ 225 ปีการศึกษา 2567
ศึกษาทฤษฏีและฝึกปฏิบัติการโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของระบบประสาทส่วนกลางในการควบคุมการทำงานของร่างกาย อารมณ์ ความนึกคิด พฤติกรรม พยาธิวิทยาของโรคและความผิดปกติ ตลอดจนการใช้ยาในการแก้ไขภาวะดังกล่าว

PR 301 INTEGUMENTARY SYSTEM ปีการศึกษา 2567
ยินดีต้อนรับนิสิตชั้นปี 3 เข้าสู่รายวิชา พพ 301 ระบบผิวหนัง ปีการศึกษา 2567
ศึกษาเซลล์ เนื้อเยื่อ โครงสร้าง อวัยวะ การเจริญพัฒนาของผิวหนัง หน้าที่การทำงาน การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย พยาธิสภาพ ความผิดปกติที่พบบ่อย และเภสัชวิทยาของยาที่ใช้ในระบบผิวหนัง

กภ 233 ประสาทศาสตร์สำหรับทันตแพทย์
กภ 233 ประสาทศาสตร์สำหรับทันตแพทย์
ประสาทศาสตร์สำหรับทันตแพทย์ (Neurosciences for Dentist) เป็นการศึกษาประสาทกายวิภาคศาสตร์และประสาทวิทยาพื้นฐานทางคลินิก
ประสาทกายวิภาคศาสตร์เป็นการศึกษาภาคทฤษฎีของกายวิภาคของระบบประสาท
ประสาทวิทยาพื้นฐานทางคลินิกเป็นการศึกษาหน้าที่พื้นฐานทางการแพทย์ของระบบประสาท และศึกษาความสัมพันธ์ และความสำคัญของระบบประสาท ซึ่งไปประยุกต์ใช้ในการเรียนโรคทางคลินิก ต่อไป